![]() |
||||
Home -> การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง | ||||
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรังใช้วิธีการรับนักศึกษาเข้าศึกษา 3 วิธี ดังนี้ 1.การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะการรกมาอุดมศึกษา(สอบรวม) ระบบใหม่ 2.การสอบคัดเลือกนักเรียนในภาคใต้เข้าศึกษาโดยวิธีรับตรง(สอบตรง) 3.การสอบคัดเลือกนักศึกษาในหลักสูตรอื่นๆ โดยแต่ละคณะจัดสอบเอง(คณะคัดเลือก) |
รายละเอียดสอบรวม | สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในสังกัดสกอ. ได้กำหนดให้นำวิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่มาใช้ในการคัดเลือก โดยมีวิธีการและขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
1) นำคะแนนผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่ามาคิดคะแนนให้ค่าน้ำหนักเป็น 10% องค์ประกอบของผลการเรียนที่นำมาใช้ในระยะแรก 2 ส่วนคือ 1) ความสามารถทั่วไปของนักเรียน วัดได้จากคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเที่ยเท่า (GPAX) และ 2) คาวมสามารถของนักเรียน เมื่อเทียบกับกลุ่มในแต่ละโรงเรียน วัดได้จากค่าเปอร์เซนไทล์ (Percentile Rang-PR) แบ่งสัดส่วนองค์ประกอบทั้ง 2 ดังกล่าวเป็นร้อยละ 5:5 กล่วคือ ค่าน้ำหนัก GPAX ร้อยละ 5 และค่าน้ำหนัก PR ร้อยละ 5 2) การจัดสอบวัดความรู้ เป็นความรู้พื้นฐานที่แต่ละคณะ/ประเภทวิชากำหนดให้สอบวัดความรู้ของผู้ประสค์จะเข้าศึกษาในคณะ/ประเภทวิชานั้นๆ วิชาที่สอบมี 2 ประเภทคือ วิชาหลักและวิชาเฉพาะ จัดสอบปีละ 2 ครั้งในเดืนอมีนาคมและตุลาคมของทุกปี ผู้สมัครจะสอบกี่ครั้ง ครั้งละกี่วิชาก็ได้ และใช้คะแนนครั้งที่ดีที่สุดในแต่ละรายวิชา คะแนนที่สอบสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2 ปี คะแนนจากการสอบวิชาหลักหรือวิชาเฉพาะให้น้ำหนักเป็น 90% 3) สมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย สกอ. กำหนดให้ยื่นใบสมัครเพื่อเลือกคณะวิชา/มหาวิทยาลัย ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ผู้สมัครสามารถเลือกคณะวิชา/มหาวิทยาลัย 4 ลำดับ สกอ. จะนำคะแนนสอบที่ดีที่สุดมารวมกับคะแนนผลการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใช้พิจารณา ตัดสินผลการคัดเลือก และจะประกาศผลการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 4) การสอบสัมภาษณ์และการตรวจร่างกายผู้ผ่านการคัดเลือก มหาวิทยาลัย/สถาบัน จะนำผลการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายมาใช้ใน 2 ลักษณะคือ 1)เป็นข้อมูลเพื่อช่วยเหลือส่งเสริม และเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิต/นักศึกษา และ 2) เป็นข้อมูลเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร และความพร้อมทางการศึกษา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกครั้งสุดท้ายก่อนรับเข้าศึกษา ไม่คิดค่าน้ำหนักคะแนน รายละเอียดอื่นๆของการสอบรวม นักเรียนหรือผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่งานแนะแนวของแต่ละโรงเรียน หรือที่หน่วยสอบคัดเลือก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 0-7428-2800 ต่อ 2160 |
รายละเอียดสอบตรง | ในการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่จัดโดยสกอ. ในระบบเดิม(สอบรวม)นั้น ปรากฏว่านักเรียนจากส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะในภาคใต้ ผ่านการสอบคัดเลือกได้น้อย เมื่อเทียบกับนักเรียนที่สอบได้จากส่วนกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ซึ่งมีนโยบายที่จะพยายามทำให้เป็นมหาวิทยาลัยของชาวภาคใต้ จงได้หาแนวทางที่จะเพิ่มโอกาสทางการศึกษาเพื่อให้นักเรียนของภาคใต้มีโอกาสเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้มากยิ่งขึ้น ในปี 2516 มหาวิทยลัยจึงเริ่มดำเนินการคัดเลือกนักเรียนในภาคใต้เข้าศึกษาในมหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ โดยในระยะแรกจัดให้โควตาเฉพาะนักเรียนที่เรียนดีในชั้นมศ.5 โดยจัดสรรให้ร้อยละ 10 ของจำนวนที่รับได้ทั้งหมด ต่อมาจึงเปิดโอกาสให้นักเรียนในภาคใต้สอบแข่งข้นเข้าเรียนได้อย่างเสมอภาค โดยในระยะแระ มหาวิทยาลัยรับจำนวนนักเรียนจากกาสอบตรงเพียงร้อยละ 30 ในปี 2518 ต่อมาเพิ่มเป็นร้อยละ 40 ในปี 2519 จนถึงปัจจุบันสามารถรับได้ ร้อยละ 50 ของทุกคณะ หรือประเภทวิชาของจำนวนที่รับทั้งหมด และในปีการศึกษา 2527 มหาวิทยาลัยได้เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้ายในระบบการศึกษานอกโรงเรียนมีสิทธิ์สมัครสอบด้วย และเพื่อเป็นการขยายโอกาสให้นักเรียนในภาคใต้มีความสามารถสมัครสอบได้อย่างทั้วถึง มหาวิทยาลัยจึงได้กระจายสนามสอบออกไปทุกจังหวัดในภาคใต้ บางจังหวัดที่มีนักเรียนจำนวนมาก ก็ได้เพิ่มสนามสอบเป็น 2 สนาม ในการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรงนี้มหาวิทยาลัย ก็ยังพบว่าไม่สามารถกระจายความเท่าเทียม และโอกาสทางการศึกษาได้มากนัก กล่าวคือ นักเรียนในโรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีมาตรฐานการสอนดีก็จะมีโอกาสสอบคัดเลือกได้มากกว่าโรงเรียนประจำจังหวัดหรือโรงเรียนโรงเรียนประจำอำเภอเล็กๆ มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาในภาคใต้ให้กระจาเท่าเทียมกัน โดยการแบ่งผู้สมัครสอบโดยวิธีรับตรงนี้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 โดยกำหนดโควตาให้แต่ละกลุ่มจำนวนร้อยละ 40 และ 60 ของจำนวนที่จะรับได้โดยวิธีรับตรงตามลำดับ ผู้สมัครในสายวิทยาศาสตร์ และร้อยละ 10 ในสายศิลปศาสตร์ของแต่ละโรงเรียน จากวิธีการแบ่งกลุ่มเช่นนี้ ทำให้นักเรียนจากดรงเรียนมัธยมเล็กๆ มีโอกาสเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้มากขึ้น ในปี 2534 มหาวิทยาลันฯ ได้ริเริ่มการกระจายโอกาสทางการศึกษาเพื่อให้นักเรียนท้องถิ่นในอำเภอต่างๆ ในภาคใต้ได้มีโอกาสในการสอบเข้าได้มากขึ้น โดยได้จัดโควตาให้นักเรียนในอำเภอต่างๆ ได้มีโอกาสเข้าศึกษาอย่างน้อยอำเภอละ 2 คน โดยจะต้องผ่านเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำที่มหาวิทาลัยฯกำหนด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป เมื่อ สกอ. ได้กำหนดให้นำวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่มาใช้นการคัดเลือก มหาวิทยาลัยจึงเห็นชอบให้ใช้ข้อสอบวัดความรู้ฯ ที่จัดสอบโดย สกอ. ทั้งในเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคม เป็นชุดข้อสอบเพื่อคัดเลือกโดยวิธีรับตรง โดยนำคะแนนที่ได้สูงสุดมาใช้คิดจัดลำดับที่ แต่ยังไม่นำผลการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมาคิดค่าคะแนน สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครและเกณฑ์การคัดเลือกให้กำหนดเช่นเดียวกับการคัดเลือกโดยวิธีสอบรวม รายละเอียดอื่นๆของการสอบตรง นักเรียนหรือผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่งานแนะแนวของแต่ละโรงเรียน หรือที่หน่วยสอบคัดเลือก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทรศัพท์ 0-7428-2800 ต่อ 2160 |
รายละเอียด คณะจัดสอบ |
หลักสูตรบัญชีต่อเนื่อง ปัจจุบัน มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง เปิดรับนักศึกษาในหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต การบัญชี(ต่อเนื่อง) เป็นหลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปวส. หรือเทียบเท่า โดยเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
การสมัครและสอบคัดเลือก จะเปิดรับนักศึกษาช่วงประมาณเดือน มีนาคม ของทุกปี ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวของวิทยาเขตเพื่อดูรายละเอียดของการเปิดรับสมัครในช่วงเวลาดังกล่าว หลักสูตร MPA รายละเอียดอื่นๆของการสอบ นักเรียนหรือผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-7521-2035 หรือที่ webpage นี้ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของการรับสมัครในช่วงก่อนหน้าที่จะเปิดรับสมัคร |